วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 18

บันทึกอนุทินครั้งที่ 18
วันที่ 2 พฤษภาคม 2559

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากวันนี้สอบปลายภาค 

 อาจารย์ให้คำแนะนำ และหลังจากสอบเสร็จอาจารย์ก็ถามเกี่ยวกับข้อสอบ และเฉลยข้อสอบให้นักศึกษา





      ขอบคุณที่ห่วงใยนักศึกษาใส่ใจนักศึกษาทุกคนและการให้คำแนะนำต่างๆพวกหนูจะนำไปปรับปรุงแก้ไขตามที่อาจารย์ให้คำแนะนำและตั้งใจสอนและจะทำให้เต็มที่ค่ะ  สถานที่ต่อไป.....ปี 5

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 17

บันทึกอนุทินครั้งที่ 17
วันที่ 27 เมษายน 2559
เวลา 14.30 น. -17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

       วันนี้อาจารย์นัดตรวจแผนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในความคิดของนักศึกษาปัญหาอะไรที่นักศึกษาพบเจอในการไปสอน  มีอุปสรรคอะไร และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำเพื่อนก็แสดงความคิดเห็น ซึ่งปัญหาของแต่ละคนมีเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง และอาจารย์ก็ถามว่าเรามีวิธีการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
ปัญหาที่พบคือ เด็กไม่สนใจเรียน  ไม่ตั้งใจฟังครูสอน  ส่วนตัวของดิฉันบางครั้งยังใช้คำพูดในการสื่อสารกับเด็กที่ยากเกินไป ซึ่งอาจารย์ก็ให้คำแนะนำดีมาก





        เมื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นเสร็จ ก็ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้สอนออกมาสอน แต่ห้องเรียนไม่ว่างเราจึงใช้สถานที่นอกห้องเรียน  ทำให้เปลี่ยนบรรยากาศอีกแบบ เป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า

หน่วย เห็ด  (วันศุกร์  นางสาวสุนิสา  บุดดารวม)
ทำเห็ดเข็มทองชุบแป้งทอด
       ในการสอนครูควรใช้คำพูดที่เหมาะสม  สอนเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน  เช่นการแนะนำ เห็ด ควรใช้ลักษณะนามให้ถูกต้องด้วย  และครูควรใช้คำถามกระตุ้นเด็กให้เด็กได้ใช้ความคิดเช่น เห็ดสามารถทำอะไรได้บ้าง  



        การบอกวัตถุดิบ หรือส่วนผสมต่างๆก็ควรบอกปริมาณให้ชัดเจน  น้ำมันที่ใช้ต่อปริมาณเห็ดเท่าไหร่   แป้งทอดกรอบต้องใช้กี่ถุงต่อปริมาณเห็ด 2 ห่อ


แผ่นชาร์ทควรวาดรูปภาพประกอบด้วย


การทำอาหาร  มี หลายรูปแบบ จะให้เด้กทำไปพร้อมกับครู  หรือให้เด็กหมุนเวียนกันทำจนครบก็ได้ แต่ควรแบ่งเป็น 4 ฐาน  อาจจะมี ฐาน หั่นเห็ด   ฐานชุบแป้งทอด   ฐานนำไปทอด  และฐานจัดใส่จานก็ได้


เมื่อนำเห็ดลงไปทอดควรใช้ความระมัดระวังด้วย


       เมื่อนำเห็ดชุบแป้ง  ตอนที่ใส่เห็ดลงไปควรให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเห็ดด้วยและตั้งคำถามทำไมเห็ดถึงสุกได้  ให้เด็กเก็บรวมรวมข้อมูลด้วย




ตักใส่จานพร้อมรับประทาน




หน่วยส้ม  การเคลื่อนไหวและจังหวะ (ผู้สอน นางสวนฤมล  เส้งเซ่ง)

ควรแก้ไขในการเคาะจังหวะ เพราะเคาะจังหวะยังไม่ถูกต้อง  และต้องใช้คำพูดให้ถูกต้องด้วย




ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ได้คำแนะนำอย่างหลายจากอาจารย์เช่น การควบคุมเด็ก การทำให้เด็กสนใจเรียน   การใช้คำพูด

การนำไปใช้
สามารถนำความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการควบคุมเด็ก  ต้องฝึกการใช้ภาษา ดูพัฒนาการเด็กด้วยเพื่อจะได้รู้และนำไปปรับใช้กับเด็กได้

การประเมิน
การประเมินตนเอง   วันนี้ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อน และได้ชิมเห็ดทอดอย่างเอร็ดอร่อย
การประเมินเพื่อน    วันนี้เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และร่วมกันแสดงความคิดเห็น
การประเมินอาจารย์  วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับนักศึกษา เกี่ยวกับเมื่อเจอปัญหาจะแก้ไขปัญหาอย่างไร  ตั้งใจดูนักศึกษาสอบสอน



ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วันที่ 18 เมษายน 2559 (ชดเชยวันที่ 20 เมษายน 2559)
เวลา 14.30 น.- 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

1. หน่วยยานพาหนะ(Vehicles)
สอนวันศุกร์ โดยนางสาวประภัสสร  หนูศิริ  เล่านิทานให้เด็กฟัง
สิ่งที่อาจารย์ให้คำแนะนำ
-นิทานที่ครูเล่าไม่สอดคล้องกับเนื้อหาข้อควรระวังของยานพาหนะ
-ข้อควรระวังของยานพาหนะ เช่น เวลาขับรถไม่ควรเกินความเร็วที่กำหนด เป็นต้น
-ฉากของนิทาน ควรทำให้มีมิติกว่าเดิม
-ควรสอนให้เด็กรู้จักสัญญาณไฟจราจรด้วย







2. หน่วยส้ม(Orange)
สอนวันศุกร์ โดย นางสาวบุษราคัม  สารุโณ  ทำน้ำส้มคั้น
สิ่งที่อาจารย์ให้คำแนะนำ
    - แผ่นชาร์ท ควรแก้ไขตรงคำว่าอุปกรณ์ เป็นส่วนผสม เพราะ เป็นส้มเขียวหวานและเกลือ
   -  ส่วนคำว่าอุปกรณ์ ก็คือ มีด  แก้ว  ที่คั้นน้ำส้ม
   -ครูควรใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กได้คิด และบอกอัตราส่วนผสมว่าต้องใช้ปริมาณเท่าไหร่ในการทำน้ำส้ม 1 แก้ว
  - ขั้นตอนการทำน้ำส้มควรเขียนเป็นข้อๆพร้อมรูปภาพประกอบด้วย ไม่ใช่เขียนความเรียงเพราะเด็กยังอ่านไม่ออก
  - เมื่อสอนเสร็จครูควรถามทบทวนเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำส้มคั้นอีกรอบ/ ให้เด็กออกมาพูด






3. หน่วยกล้วย (Banana)
สอนวันศุกร์ โดย นางสาวสุทธิดารัตน์  เกิดบุญมี  สอนการทำกล้วยเชื่อม
ก่อนจะสอนต้องแนะนำวัตถุดิบ  อุปกรณ์ให้เด็กรู้จัก
-การทำกล้วยเชื่อม ต้องเขียนสัดส่วนปริมาณที่จะทำให้ชัดเจน
-การเขียนแผ่นชาร์ทเขียนจากบนลงล่าง  ไม่ควรเขียน 2ฝั่ง เพราะไม่ใช่การเปรียบเทียบ
-ขั้นตอนการทำ ครูควรแบ่งเด้กออกเป็นกลุ่ม เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วม
-ในขั้นตอนการทำครูควรพูดถึงกระบวนทางวิทยาศาสตร์ด้วย เช่น การตั้งประเด็นปัญหา เช่น จำทำอย่างไรให้กล้วยสุก ทำอย่างไรให้กล้วยเป็นของหวาน
-ระหว่างที่ทำให้เด็กสังเกตตอนที่ใส่กล้วยลงกระทะด้วย เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง จะได้เก้บรวบรวมข้อมูล
-ครูควรให้เด็กแต่ละกลุ่มเวียนหน้าที่กัน เพื่อให้เด็กทุกคนได้ทำทุกขั้นตอน





4.หน่วยผีเสื้อ (Butterfly)
สอนวันศุกร์ โดย นางสาวดวงกมล    คันตะลี  สอนขนมปังปิ้ง
-แผ่นชาร์ทเขียนติดกันจนเกินไป  
-ขั้นนำ  ครู นำ วัตถุดิบ  อุปกรณ์ แล้วถามเด็กๆว่า วิตถุดิบอุปกรณ์ที่ครูเตรียมมาสามารถไปทำอะไรได้บ้างคะ
-เมื่อครูสอน ครูสาธิตให้เด็กดู โดยแบ่งเด็กเป็น  4 กลุ่ม
1.วาดรูปส่วนผสมและอุปกรณ์
2.นำขนมเข้าเครื่องปิ้ง
3.ทาเนย
4.วาดรูปผีเสื้อลงบนขนมปัง  ให้เด็กเปลี่ยนกันจนครบทุกกลุ่ม
-ครูถามเด็ก ทำอย่างไรให้ขนมปังสุก
-เมื่อนำขนมผังใส่เตาให้เด็กสังเกตด้วย ว่าก่อนใส่และหลังใส่แตกต่างอย่างไร







สิ่งที่นำไปพัฒนา
  ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ เช่น การตั้งคำถามปลายเปิดให้เด็กได้คิด   การเขียนแผ่นชาร์ทที่ถูกต้อง  การแบ่งกลุ่มเด็กในการทำ  สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในอนาคตได้

การประเมิน
การประเมินตนเอง  ตั้งใจฟังเพื่อนสอนและให้ความร่วมมือ ได้กินขนมปังปิ้งแสนอร่อย และได้รับความรู้จากที่อาจารย์ให้คำแนะนำ
ประเมินเพื่อน  เพื่อนแต่ละกลุ่มตั้งใจสอน  และฟังคำแนะจากอาจารย์และนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ประเมินอาจารย์   อาจารย์ตั้งใจสอน ให้คำแนะนำนักศึกษาทุกครั้ง  ใส่ใจนักศึกษาทุกคน


ครั้งที่ 15


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันที่ 13  เมษายน 2559





ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันที่ 4 เมษายน 2559
เวลา 14.30 น.-17.30 น.



1.หน่วยเห็ด(Mushroom) สอนวันพฤหัสบดี โดย นางสาวพรวิมล  ปาผล  เรื่องประโยชน์และข้อพึงระวัง
โดยอาจารย์ให้คำแนะนำ คือ  ครูที่สอนยังมีความตื่นเต้นทำให้พูดอาจจะเร็วเกินไปสะดุดบ้างบางครั้งเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานควรมีบทสนทนาของตัวละครให้มากขึ้น ไม่ใช่แค่เล่าเรื่องเพราะจะทำให้น่าเบื่อ และตัวละครต้องพอดีกับฉากด้วยให้มีความสมดุลกัน ส่วนฉากนิทานทำออกมาดีสวย แต่ควรเพิ่มให้มีมิติมากขึ้น พอเล่านิทานจบครูก็ถามเนื้อเรื่องเกี่ยวกับนิทาน ว่ามีใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ข้อพึงระวังและประโยชน์ของเห็ดด้วย สิ่งที่ควรเน้นย้ำบ่อยๆก็คือข้อควรระวัง พูดซ้ำๆถามซ้ำๆเพื่อให้เด็กจำเกี่ยวกับข้อควรระวังได้ เมื่อเด็กเจอสถานการณ์จริงเด็กจะได้แก้ไขปัญหาหรือหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นได้









2.หน่วยผีเสื้อ (Butterfly) สอนวันพฤหัสบดี โดยนางสาวณัฐชยา  ชาญณรงค์
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือการใช้คำถามถามเด็กเกี่ยวกับประโยชน์ของผีเสื้อว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง นอกจากที่ครูมานำมาให้ดู ให้เด็กแต่ละคนได้เสนอความคิดเห็น และครูควรใช้คำถามที่กระตุ้นเด็กด้วยเพื่อความน่าสนใจในขณะที่เรียน



3.หน่วยยานพาหนะ (Vehicles) โดยนางสาวธนาภรณ์  ใจกล้า
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ เตรียมสื่อการสอนดี แต่สื่อที่เตรียมมาควรมีขนาดใหญ่ให้เด็กได้มองเห็นด้วย การเขียนแผ่นชาร์ทตัวหนังสือต้องสวยเขียนให้ถูกต้อง การจัดวางเนื้อหาให้สมดุลกับกระดาษ ครูควรอธิบายเป็นขั้นตอนไม่กว้างจนเกินไปเน้นเนื้อหาสาระให้เจาะจงให้เด็กสามารถจดจำและเข้าใจได้ง่าย






4. หน่วยส้ม (Orange) สอนวันจันทร์โดยนางสาวนฤมล  เส้งเซ่ง






สิ่งที่นำไปพัฒนา
   พัฒนาในเรื่องของการใช้ภาษา  การใช้ภาษาที่ง่ายๆให้เด็กข้าใจ  การใช้เทคนิคต่างๆที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ เช่น การพูดย้ำซ้ำๆๆในสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เด็กจดจำได้ง่าย 

การประเมิน
ประเมินตนเอง วันนี้ตื่นเต้นเพราะวันนี้ต้องสอบสอนเป็นกลุ่มแรก แต่ในที่สุดก็ทำได้ ได้รู้ว่าควรต้องเตรียมตัวให้พรัอมมากกว่านี้ เพราะความตื่นเต้นทำให้พูดผิดบ้างเป็นบางครั้ง ควรมีความมั่นใจในตนเอง แต่หลักการสอนสอนได้ถูกต้อง แต่ควรพูดเน้นย้ำบ่อยๆในสิ่งที่เราจะให้เด็กได้เรียนรู้
ประเมินเพื่อน. วันนี้เพื่อนที่ออกมาสอนก็ตื่นเต้น แต่เพื่อนก็ทำให้ดีที่สุดและนำคำที่อาจารย์บอกนำไปปรับปรุงแก้ไข ส่วนเพื่อนที่ไม่ได้สอนก็ให้ความร่วมมือและจำบันทึกทุกครั้งที่เรียน
ประเมินอาจารย์. อาจารย์ห่วงใยนักศึกษาให้คำแนะนำอย่างละเอียดทุกขั้นตอน พร้อมพูด