วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วันที่ 25  มกราคม 2559
เวลา 14.30 น.-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

1.กลุ่มการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 



แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลัก BBL
              1. การจัดการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงและถาวรนั้น  จะต้องจัดให้ครบองค์ประกอบทั้ง  3   ส่วน  ได้แก่  การรับรู้  การบูรณาการความรู้  และการประยุกต์ใช้  เพื่อเป็นการเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติจริงในวิถีชีวิ
               2. ครูผู้สอนจะต้องมีข้อมูล  และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  คิดและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความถนัด/ความสามารถหรือความเก่งให้เก่งมากยิ่งขึ้น  รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ  อีกให้มีความเก่งหลาย ๆ ด้าน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถหรือความเก่งสู่สาธารณชน  โดยอาจจัดเวทีให้แสดงอย่าง
             3.การจัดการเรียนการสอนที่ดี  ครูต้องมีความเข้าใจทักษะที่เกี่ยวโยงกับความสามารถพิเศษของสมองแต่ละซีก  สมองซีกซ้ายสั่งการทำงานเกี่ยวกับ  คำ  ภาษา  ตรรก  ตัวเลข/จำนวน  ลำดับ  ระบบ  การคิดวิเคราะห์  และการแสดงออกเป็นต้น   สมองซีกขวาจะสั่งการเกี่ยวกับ  จังหวะ  ดนตรี  ศิลปะ  จินตนาการ  การสร้างภาพ  การรับรู้  การเห็นภาพรวม  ความจำ  ความคิดสร้างสรรค์  เป็นต้น
            4.ควรจัดเนื้อหาที่มีความหลากหลายครอบคลุมทุกมิติของชีวิตมนุษย์  กระบวนการเรียนรู้มีลักษณะหลากหลายร่วมกันในลักษณะ  ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  แหล่งการเรียนรู้หลากหลาย  เช่น  เรียนรู้จากสื่อธรรมชาติ  จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่  จากแหล่งงานอาชีพของชุมชน  จากการค้นคว้าทางเทคโนโลยี  ฯลฯ
            5. ในกระบวนการเรียนรู้นั้น  ขณะที่ผู้เรียนเรียนรู้นั้นอาจเป็นแค่การรับรู้  แต่ยังไม่เข้าใจ  ความเข้าใจอาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันถึงสิ่งต่าง ๆ  ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย  ในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้  ซึ่งบางครั้งการสอนในชั้นเรียนเมื่อจบลงบางบทเรียนไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้  เนื่องจากการสอนนั้นไม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
            6. บางครั้งการจำเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์  แต่การสอนที่เน้นการจำไม่ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้และบางครั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเข้าใจ  ถ้าครูไม่ได้ศึกษาลีลารูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละประเภท  ว่ามีความชื่นชอบ  ความถนัด  วิธีการเรียนรู้  หลักการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ   และจัดกิจกรรมการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละประเภท จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
            7.ครูจำเป็นต้องใช้กิจกรรมที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน  ประกอบด้วย  การสาธิต  การทำโครงงาน  ทัศนศึกษา  การรับรู้ประสบการณ์ด้วยการมองเห็นของจริง  การเล่าเรื่อง  ละคร  และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อคนหลาย ๆ ประเภท  การเรียนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาสามารถเรียนรู้ได้ในกระบวนการโดยผ่านเรื่องหรือการเขียน
           8.ควรสร้างสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยเพื่อ  การเรียนรู้  โดยผ่านการเล่นแบบท้าทาย  การเสี่ยง  ความสนุกสนาน  เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้  การถูกทำโทษอันเนื่องมาจากความผิดพลาดจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้  ครูจึงไม่ควรลงโทษผู้เรียน
          9.ผู้เรียนมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา  ความสามารถความเก่งของมนุษย์  คือ  ทฤษฎีพหุปัญญา  ความเป็นคนเก่งคืออะไร  มีคำตอบมากมายหลายรูปแบบ  แต่สรุปรวมได้ว่า  คนเก่งคือผู้มีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งเฉพาะด้าน  หรือหลาย ๆ ด้าน  ที่แสดงออกถึงความสามารถได้อย่างเป็นที่ประจักษ์


2.การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรี่


       การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยมีครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน และเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้เสรีภาพแก่เด็ก ให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้ใช้จิตใจซึมซับสิ่งแวดล้อม โดยครูคำนึง ถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ของเด็กและยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย การจัดการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง เพราะมอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กคือ ผู้รู้ความต้องการของตนเองและมีความสามารถที่จะซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมได้ หลักสูตรของมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กวัย 3-6 ขวบ ครอบคลุมการศึกษา 3 ด้านคือ
  1. ด้านทักษะกลไก (Motor Education) หรือกลุ่มประสบการณ์ชีวิต มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อม การทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ ความรับผิดชอบและการประสานสัมพันธ์ให้สมดุล เด็กจะทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเบื้องต้นของชีวิตประจำวัน การดูแลตนเอง การจัดการเกี่ยวกับของใช้ในบ้าน เช่น การตักน้ำ การตวงข้าว การขัดโต๊ะไม้ การเย็บปักร้อย การรูดซิป การพับและเก็บผ้าห่ม หรือมารยาทในการรับประทานอาหารเป็นต้น
  2. ด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเกี่ยวกับมิติ รูปทรง ปริมาตรของแข็ง ของทึบ อุณหภูมิ เด็กจะได้รู้จักทรงกระบอก ลูกบาศก์ ปริซึม แขนงไม้ ชุดรูปทรงเรขาคณิต บัตรประกอบแถบสี กระดานสัมผัส แผ่นไม้ แท่งรูปทรงเรขาคณิต กิจกรรมที่จัดให้เด็กปฏิบัติผ่านการเล่น เช่น หอคอยสีชมพู แผ่นไม้สีต่างๆ เศษผ้าสีต่างๆ รูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ รูปทรงกระบอก ระฆัง กล่อง และขวดบรรจุของมีกลิ่น แท่งไม้สีแดงและแท่นวางเป็นขั้นบันได ถุงที่ซ่อนสิ่งลึกลับ เป็นต้น
  3. ด้านการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation For Writing and Arithmetic) หรือกลุ่มวิชา การ มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมเด็กเข้าสู่ระดับประถมศึกษา เตรียมตัวด้านการอ่านการเขียนโดยธรรมชาติ การประสมคำ คณิตศาสตร์ การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การประพันธ์เพลง การเคลื่อนไหวมือ เด็กจะเรียนเกี่ยวกับตัวเลข กล่องชุดอักษร ชุดแผนที่ เครื่องมือ โน้ตดนตรี กล่องและแท่งสี อักษรกระดาษทราย แผ่นโลหะชุดรูปทรงเรขาคณิต ชุดแต่งกาย เป็นต้น กิจกรรมที่จัดสำหรับเด็ก เช่น การคูณ การหารยาว ทศนิยม การแนะนำเลขจำนวนเต็ม 10 ด้วยลูกปัด แบบฝึกหัดการบวกและการลบ การเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ เรียนเรื่องส่วนที่เป็นพื้นดิน เช่น ที่ราบ ภูเขา เกาะ แหลม ฯลฯ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ เช่น น้ำตก ทะเลสาบ อ่าว ช่องแคบ ฯลฯ



3.การสอบแบบโครงการ



การจัดการสอนแบบโครงการเป็นที่สนใจของนักการศึกษาจึงได้นำไปใช้และวิจัยสรุปถึงประโยชน์ที่มีต่อเด็กดังนี้
  • -เด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง เป็นแนวทางให้เด็กพึ่งพาตนเองได้
  • -ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
  • -เด็กเกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กเองในงานและกิจกรรมที่ทำ
  • -เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็ก
  • -เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้
  • -ส่งเสริมให้เด็กมีวิธีการทำงานอย่างมีแบบแผน
  • -สามารถนำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
  • -สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและครอบครัว เนื่องจากการสอนแบบโครงการ พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกับครูสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กทุกรูปแบบ



4. การจัดการเรียนการสอนแบบ  STEM 


           สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
         การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ  (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน  และ (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา  จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน   


5. การจัดการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ



วิธีจัดการเรียนการสอน 
            การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ  เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน  ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก  วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน  สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู  ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ  ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ
ความรู้ที่ได้รับ
     ได้รู้ว่าการจัดการเรียนการสอนแต่ละแบบมีความแตกต่างกัน   แต่ละอย่างล้วนพัฒนาเด็กมีการจัดสถาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก

การนำไปใช้
     สามารถนำความรู้ที่เพื่อนได้นำเสนอแต่ละทฤษฎีไปเป็นองค์ความรู้ที่ใช้ในอนาคตได้
การประเมิน
ประเมินตนเอง   ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ และเข้าใจแต่ละรูปแบบที่จัดการเรียนการสอน  มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ประเมินเพื่อน    เพื่อนแต่ละกลุ่มเตรียมความพร้อมที่นำเสนอผลงานให้เพื่อนๆดู เตรียมตัวมาดี  เตรียมวัสดุอุปกรณ์พร้อม   ให้การนำเสนอที่น่าสนใจ
ประเมินอาจารย์   อาจารย์ตั้งใจดูนักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอพร้อมให้คำแนะนำ 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น