บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วันที่ 28 มีนาคม 2559
เวลา 14.30 น.-17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้ตรวจแผนการสอนของทุกกลุ่มและอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และให้คำแนะนำของแต่ละกลุ่มดังนี้
1.หน่วยเห็ด
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์---ในแผนการจัดประสบการณ์ สาระที่ควรเรียนรู้ ควรเขียนอธิบายการเพาะเห็ดนางฟ้าเข้าไปด้วย ในการผสมส่วนผสมการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ครุควรใส่ถุงมือหรือใช้ช้อตักไม่ควรใช้มือเปล่า ควรเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเหมือนไปสอนจริงๆ การเพาะเห็ดอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการเพาะเห็ดด้วย โดยให้เด็กออกมาช่วยครูตักส่วนผสมใส่ลงในถุงก้อนเชื้อ และในขั้นตอนการเพาะเห็ดครูควรวาดรูปประกอบด้วยจะทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น โดยรวมสอนดี
(วันพุธ-นางสาวภัสสร ศรีพวาทกุล)
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ---ในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ครูไม่ควรให้เด็กเคลื่อนไหวหลายอย่างมากจนเกินไป ถ้าครูให้เด็กกระโดดแล้ว ไม่ต้องให้เด็กเดินด้วยปลายเท้าอีกในการจัดกลุ่มการเคลื่อนไหวประกอบเพลง ครูควรใช้วิธีการจัดกลุ่มหลายวิธี นอกจากการให้เด็กนับ 1-3แล้วก็มีการใช้สัญลักษณ์ การแจกภาพเลขาคณิตให้เด็กหรือครูพูดว่า นก 2 ตัวรวมกันเป็นต้น โดยรวมสอนดี
(วันศุกร์-นางสาวสุนิสา บุดดารวม)
2.หน่วยผัก
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์---เมื่อสอนเกี่ยวกับพืชกินดอกก็ควรใส่หัวข้อพืชกินดอกลงไปในการสอนด้วย การนำเสนอควรมีประเภทของผักให้ครบตามที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์
(วันพุธ-นางสาวทิพย์มณี สมศรี)
กิจกรรมเสริมประสบการณ์---จากนิทานหนุหน่อยปวดท้อง เพราะ ไม่ กินผัก ควรเล่าว่าหนุหน่อยท้องผูกก่อน เนื่องจากไม่มีกากอาหาร ต้องบอกรายละเอียดเป็นเรื่องราว ไม่ใช่ไม่กินผักทำให้ท้องผูกเลย และครูควรถามว่า เด็กๆคิดว่าผักมีประโยชน์อะไรอีกคะให้เด็กๆได้ใช้ความคิดในการตอบ นอกเหนือจากนิทานที่ครูเล่า การทำถุงมือประกอบการเล่านิทาน ส่วนมากการเล่านิทาน ครูจะนำสื่อมาเสียบไม้แล้วเล่ามากกว่าการใช้ถุงมือ โดยรวมสอนดีน้ำเสียงการเล่านิทานน่าสนใจ
(ผู้สอน--นางสาวอินธุอร ศรีบุญชัย)
3. หน่วยยานพาหนะ
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ --ในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ครูควรเปลี่ยนคำพูดจากคำว่าสคลิปต์เป็นก้าวชิดก้าวแทน โดยรวมสอนดี (วันศุกร์--นางสาวประภัสสร หนูศิริ)
กิจกรรมเสริมประสบการณ์-- สอนซ้ำในเรื่องการจัดประเภทยานพาหนะ ควรเปลี่ยนเป็นหัวข้อประเภทการใช้พลังงานของยานพาหนะ สอนไม่ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ ปริศนาคำทายควรใช้กับวันที่ 2 ครูควรเน้นการใช้พลังงานในยานพาหนะประเภทต่่างๆมากว่าการดูแลรักษายานพาหนะ (วันพุธ ผู้สอน --นางสาวอรุณี พระนารินทร์)
4.หน่วยกล้วย
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ --การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ การแต่งเรื่องที่จะบรรยายให้เด็กทำตามต้องมีเนื้อหาให้สอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้ด้วย (วันศุกร์--นางสาวสุทธิดารัตน์ เกิดบุญมี)
กิจกรรมเสริมประสบการณ์--คนที่สอนไม่มาเรียน (วันพุธ--นางสาวณัฐชยา ตะคุณนะ)
5.หน่วยผีเสื้อ
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ --ครูต้องบอกก่อนว่าหนอนผีเสื้อกัดใบไม้ทำให้ใบไม้เสียหาย ไม่ถึงกับทำลายธรรมชาติ แต่อาจทำให้ผักเสียหายจะทำให้มีราคาลดลงได้ โดยรวมสอนดี (วันศุกร์--นางสาวดวงกมล คันตะลี)
กิจกรรมเสริมประสบการณ์--โดยรวมสอนดี (นายวรมิตร สุภาพ สอนวันพุธ)
6.หน่วยส้ม
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ --สอนไม่ตรงตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไว้ ถ้าครูพูดคำไหนให้เด็กนับจำนวนพยางค์และทำท่าให้สัมพันธ์กับจำนวนพยางค์ที่ครูพูดด้วย
(วันศุกร์-นางสาวบุษรคัม สะรุโณ)
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ--การเคลื่อนไหวผุ้นำผู้ตาม เนื้อหาที่สอนดี ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมครูก็ร้องเพลงเป็นการทบทวนก่อน 1 รอบ
(วันอังคาร-นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์)
สิ่งที่ควรนำไปพัฒนา
วันนี้ได้เห็นเพื่อนแต่ละกลุ่มออกมาสอน ก็ได้นำความรู้ที่อาจารย์แนะนำไปปรับใช้ในอนาคตได้ และสามารถนำความรู้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้
เทคนิค
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการใช้คำพูดที่น่าสนใจ อธิบายและบรรยายให้นักศึกษาฟังอย่างเข้าใจ มีจิตวิทยาในการสอน บอกเทคนิคในการสอนเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มได้อย่างเข้าใจ
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้ตรวจแผนการสอนของทุกกลุ่มและอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และให้คำแนะนำของแต่ละกลุ่มดังนี้
1.หน่วยเห็ด
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์---ในแผนการจัดประสบการณ์ สาระที่ควรเรียนรู้ ควรเขียนอธิบายการเพาะเห็ดนางฟ้าเข้าไปด้วย ในการผสมส่วนผสมการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ครุควรใส่ถุงมือหรือใช้ช้อตักไม่ควรใช้มือเปล่า ควรเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเหมือนไปสอนจริงๆ การเพาะเห็ดอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการเพาะเห็ดด้วย โดยให้เด็กออกมาช่วยครูตักส่วนผสมใส่ลงในถุงก้อนเชื้อ และในขั้นตอนการเพาะเห็ดครูควรวาดรูปประกอบด้วยจะทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น โดยรวมสอนดี
(วันพุธ-นางสาวภัสสร ศรีพวาทกุล)
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ---ในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ครูไม่ควรให้เด็กเคลื่อนไหวหลายอย่างมากจนเกินไป ถ้าครูให้เด็กกระโดดแล้ว ไม่ต้องให้เด็กเดินด้วยปลายเท้าอีกในการจัดกลุ่มการเคลื่อนไหวประกอบเพลง ครูควรใช้วิธีการจัดกลุ่มหลายวิธี นอกจากการให้เด็กนับ 1-3แล้วก็มีการใช้สัญลักษณ์ การแจกภาพเลขาคณิตให้เด็กหรือครูพูดว่า นก 2 ตัวรวมกันเป็นต้น โดยรวมสอนดี
(วันศุกร์-นางสาวสุนิสา บุดดารวม)
2.หน่วยผัก
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์---เมื่อสอนเกี่ยวกับพืชกินดอกก็ควรใส่หัวข้อพืชกินดอกลงไปในการสอนด้วย การนำเสนอควรมีประเภทของผักให้ครบตามที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์
(วันพุธ-นางสาวทิพย์มณี สมศรี)
กิจกรรมเสริมประสบการณ์---จากนิทานหนุหน่อยปวดท้อง เพราะ ไม่ กินผัก ควรเล่าว่าหนุหน่อยท้องผูกก่อน เนื่องจากไม่มีกากอาหาร ต้องบอกรายละเอียดเป็นเรื่องราว ไม่ใช่ไม่กินผักทำให้ท้องผูกเลย และครูควรถามว่า เด็กๆคิดว่าผักมีประโยชน์อะไรอีกคะให้เด็กๆได้ใช้ความคิดในการตอบ นอกเหนือจากนิทานที่ครูเล่า การทำถุงมือประกอบการเล่านิทาน ส่วนมากการเล่านิทาน ครูจะนำสื่อมาเสียบไม้แล้วเล่ามากกว่าการใช้ถุงมือ โดยรวมสอนดีน้ำเสียงการเล่านิทานน่าสนใจ
(ผู้สอน--นางสาวอินธุอร ศรีบุญชัย)
3. หน่วยยานพาหนะ
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ --ในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ครูควรเปลี่ยนคำพูดจากคำว่าสคลิปต์เป็นก้าวชิดก้าวแทน โดยรวมสอนดี (วันศุกร์--นางสาวประภัสสร หนูศิริ)
กิจกรรมเสริมประสบการณ์-- สอนซ้ำในเรื่องการจัดประเภทยานพาหนะ ควรเปลี่ยนเป็นหัวข้อประเภทการใช้พลังงานของยานพาหนะ สอนไม่ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ ปริศนาคำทายควรใช้กับวันที่ 2 ครูควรเน้นการใช้พลังงานในยานพาหนะประเภทต่่างๆมากว่าการดูแลรักษายานพาหนะ (วันพุธ ผู้สอน --นางสาวอรุณี พระนารินทร์)
4.หน่วยกล้วย
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ --การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ การแต่งเรื่องที่จะบรรยายให้เด็กทำตามต้องมีเนื้อหาให้สอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้ด้วย (วันศุกร์--นางสาวสุทธิดารัตน์ เกิดบุญมี)
กิจกรรมเสริมประสบการณ์--คนที่สอนไม่มาเรียน (วันพุธ--นางสาวณัฐชยา ตะคุณนะ)
5.หน่วยผีเสื้อ
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ --ครูต้องบอกก่อนว่าหนอนผีเสื้อกัดใบไม้ทำให้ใบไม้เสียหาย ไม่ถึงกับทำลายธรรมชาติ แต่อาจทำให้ผักเสียหายจะทำให้มีราคาลดลงได้ โดยรวมสอนดี (วันศุกร์--นางสาวดวงกมล คันตะลี)
กิจกรรมเสริมประสบการณ์--โดยรวมสอนดี (นายวรมิตร สุภาพ สอนวันพุธ)
6.หน่วยส้ม
อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ --สอนไม่ตรงตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไว้ ถ้าครูพูดคำไหนให้เด็กนับจำนวนพยางค์และทำท่าให้สัมพันธ์กับจำนวนพยางค์ที่ครูพูดด้วย
(วันศุกร์-นางสาวบุษรคัม สะรุโณ)
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ--การเคลื่อนไหวผุ้นำผู้ตาม เนื้อหาที่สอนดี ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมครูก็ร้องเพลงเป็นการทบทวนก่อน 1 รอบ
(วันอังคาร-นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์)
สิ่งที่ควรนำไปพัฒนา
วันนี้ได้เห็นเพื่อนแต่ละกลุ่มออกมาสอน ก็ได้นำความรู้ที่อาจารย์แนะนำไปปรับใช้ในอนาคตได้ และสามารถนำความรู้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้
เทคนิค
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการใช้คำพูดที่น่าสนใจ อธิบายและบรรยายให้นักศึกษาฟังอย่างเข้าใจ มีจิตวิทยาในการสอน บอกเทคนิคในการสอนเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มได้อย่างเข้าใจ
การประเมิน
ประเมินตนเอง ดูเพื่อนแต่ละกลุ่มออกมาสอบสอนและฟังอาจารย์ให้คำแนะนำทุกครั้งพร้อมจดบันทึก เมื่ออาจารย์ให้เสนอความคิดเห็นก็จะแสดงความคิดเห็นออกอย่างเต็มที่ และให้ความร่วมมือในการสอบสอนของเพื่อนด้วย
ประเมินเพื่อน เพื่อนที่ออกมาสอบสอนตื่นเต้นกันทุกคน และเมื่อเพื่อนสอนเสร็จก็ฟังคำแนะนำจากอาจารย์พร้อมนำไปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าาเดิม ส่วนเพื่อนในห้องก็ให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังเพื่อนสอบสอน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตั้งใจดูแต่ละกลุ่มออกมาสอบสอน พร้อมให้คำแนะนำ เก็บรายละเอียดสิ่งที่ผิดมาให้นักศึกษาได้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกสอนในอนาคตได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น