วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วันที่ 22 มีนาคม 2559
เวลา 14.30 น. -17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
  วันนี้อาจารย์ได้ตรวจแผนการสอนแต่ละกลุ่ม แล้วให้เพื่อนออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 


1. หน่วยเห็ด
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
      กิจกรรมพื้นฐานครูอาจให้เด็กเดินด้วยส้นเท้าหรือปลายเท้าก็ได้  กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา เมื่อครูพูดถึงเห็ดนางฟ้าครูก็เคาะจังหวะไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องหยุดแล้วให้ครูค่อยเปลี่ยนคำสั่ง 
  (วันพุธ  นางสาวภัสสร ศรีพวาทกุล)

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     แก้ไขตรงสาระที่ควรรู้  คือ ประโยชน์ของเห็ด  เห็ดสามารถนำมาประกอบอาหารได้  ในเนื้อหาที่บรรยายให้เด็กทำท่าทางก็ควรเพิ่มเติมใส่รายละเอียด ให้เป็นพฤติกรรมที่ชัดเจนเด็กจะได้ทำท่าทางได้ ครูต้องเคาะจังหวะให้ชัดเจน  และมีอารมณ์ร่วมกับเด็กด้วยเด็กจะได้สนุกสนานในการทำกิจกรรม 
(วันพฤหัสบดี  นางสาวพรวิมล  ปาผล)




2.หน่วยผัก
  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        การเคลื่อนไหวตามคำบรรยายผักที่กินหัว คือ แครอท และ ฟักทอง ครูควรนำของจริงมาให้เด็กได้สัมผัสเพื่อที่เด็กจะได้หาวิธีทดสอบ เช่นการทดสอบโดยใช้นิ้วดีดฟักทองเนื้อแน่นๆ 
(วันพุธ   นางสาวทิพย์มณี  สมศรี)



กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ครูต้องพุดรายละเอียดเพื่อให้เด็กทำท่าทางได้ง่าย และบรรยายให้เสมือนอยู่ในสถานการณ์จริง เช่นการเก็บผัก ควรสอดแทรกคณิตศาสตร์ไปด้วย 
(วันพฤหัสบดี  นางสาวอินทุอร  ศรีบุญชัย) 


3. หน่วยยานพาหนะ
 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        การเคลื่อนไหวพื้นฐาน ซ้าย  ขวา  หน้า  หลัง ครูควรกำหนดให้เด็กเคลื่อนไหวที่แตกต่างออกไปเช่นให้เด็กเดินด้วยส้นเท้า    แล้วให้เปลี่ยนทิศทางเด็กจะได้ทรงตัว ควบคุมการเดินของตนเอง และการเคลื่อนไหวควรระวังไม่ให้ชนกันครูควรกำหนดกฎกติกาให้ชัดเจน  สาระที่ควรเรียนรู้ คือ พลังงานในยานพาหนะชนิดต่างๆ  เช่น เครื่องบินใช้นำมัน (วันพุธ  นางสาวอรุณี  พระนารินทร์)
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
       การเคลื่อนไหวตามคำบรรยายควรมีหลากหลาย  การเคาะจังหวะจะเคาะเป็นช่วงๆเท่านั้น เช่นการบรรยายการล้างรถ ต้องมีขั้นตอนในการล้างรถ แต่ก่อนที่จะล้างรถเราต้องเตรียมอุปกรณ์ก่อน ครูควรพูดให้ความรู้หรือหาความรู้เพิ่มเติมให้เด็กก่อนจึงจะทำให้เด็กได้รับความรู้ที่ถูกต้อง
(วันพฤหัสบดี  นางสาวธนาภรณ์   ใจกล้า)


4. หน่วยผีเสื้อ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     เมื่อเด็กแปลงกายเป็นไข่  เป็นหนอน แล้วจากนั้นกลายเป็นผีเสื้อ ขณะที่เด็กแปลงเป็นแต่ละข้นครูควรให้เวลาให้เด็กได้ทำท่าก่อนแล้วค่อยเคาะจังหวะพื้นฐาน (วันพุธ  นายวรมิตร  สุภาพ)




กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     สาระที่ควรรู้  คือ ผีเสื้อผสมเกสรเป็นดอกไม้และการเปลี่ยนแปลของผีเสื้อโดยรวมสอนดี (วันพฤหัสบดี  นางสาวณัฐชยา  ชาญณรงค์)



5.หน่วยส้ม
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     การหาพื้นที่ให้กับตัวเอง ไม่ต้องเคาะจังหวะ ครูควรบอกเด็กไปเลยว่าให้ทำอะไร  ครูบรรยายข้ามขั้นตอนไป บางขั้นตอนก็ไม่ควรเคาะจังหวะเพราะบางพฤติกรรมไม่เหมาะสมสำหรับการเคาะจังหวะ ในขั้นที่เกี่ยวกับการบรรยายให้เด็กได้แสดงทำท่าทางอย่างเต็มที่ที่ครูสั่ง  ไม่ควรถามเด็กเกี่ยวกับประโยชน์ของส้มในขณะที่สอนครูควรจะบรรยายบอกเด็กไปเลย สิ่งที่แก้ไขคือจากที่ให้เด็กไปเก็บส้มอย่างเดียว ครูควรให้เด้กเก็บส้มไปทำน้ำส้มคั้นขาย  เพราะมีประโยชน์  มีวิตามินซี เพราะจะทำให้เกี่ยวข้องกับวันที่สอนมากกว่า  และครูที่สอนควรสอนตามแผนที่เตรียมไว้  คำพูดต้องใช้ให้ถูกต้องด้วย เช่นส้มอยู่ต่ำๆ เปลี่ยนเป็น ส้มที่อยู่ต่ำๆ (วันพุธ ผู้สอน  นางสาวมธุรินทร์   อ่อนพิมพ์)


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
      การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง  ครูควรสั่งทีละอย่าง เช่นส้มจีนให้กระโดด  ครูควรทบทวนแล้วให้เด็กทำอีกรอบ แล้วกลับไปกิจกรรมพื้นฐาน แล้วเมื่อสั่งเป็นส้มเขียวหวานให้เด็กทำท่าบิน ทำจนครบ และให้เด็กได้เคลื่อนไหวด้วย (ผู้สอน  นางสาวสกาวเดือน  สอิ้งทอง)

6.หน่วยกล้วย
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     กลุ่มนี้ต้องทำกิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่  ไม่ควรทำบรรยายทั้ง 2  วัน เพราะทำให้เด็กเบื่อ ครูควรใช้คำพูดที่เชื่อมและโยงเข้าประโยชน์ของกล้วยให้ได้ เวลาที่ครูใช้คำสั่ง ครูต้องทบทวนให้เด็กฟังก่อนจากนั้นให้เด็กทำตาม  พอเริ่มคำสั่งใหม่ครูต้องเคาะจังหวะให้เด็ก ให้เด็กได้ฝึกการฟังเสียงสัญญาณ  ครูต้องหาข้อมูลให้ครบใส่ใจรายละเอียดของเนื้อหาที่จะสอนเพื่อนำมาสอนให้กับเด็กได้ถูกต้อง
(ผู้สอน นางสาวกัญญารัตน์  หนองหงอก)





กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
      การบรรยายยังไม่ละเอียดข้อมูลยังไม่ครบในการเลือกซื้อกล้วย ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต (ผู้สอน นางสาวณัฐชยา   ตะคุณนะ)





การนำไปพัฒนา
  ได้นำความรู้ในแต่ละเรื่องที่เพื่อนสอน สิ่งที่อาจารย์ให้คำแนะนำมาปรับปรุงแก้ไข รู้ว่าจุดไหนควรเพิ่มเติมบ้างสิ่งใดที่ทำดีอยู่แล้ว สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดต่อไปในอนาคต


การประเมิน
ประเมินตนเอง  วันนี้ก็ฟังเพื่อนสอบสอน  เสียสมาธิบ้างบางครั้งแต่ก็ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์ให้คำแนะนำของเพื่อนแต่ละคนพร้อมจดบันทึก
ประเมินเพื่อน   เพื่อนตั้งใจสอนทุกคน และฟังคำแนะนำจากอาจารย์  เพื่อนในห้องก็ให้ความร่วมมือ กล้าแสดงความคิดเห็น 
ประเมินอาจารย์  อาจารย์ให้คำแนะนำอย่างละเอียด ให้นักศึกษาได้นำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป  อาจารย์ใช้คำพูดในการให้คำแนะนำอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น